เมนู

อรรถกถาสังขพราหณชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต ดังนี้.
ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง ฟังธรรม
เทศนาของพระตถาคตแล้ว มึจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์
เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับ
ตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต
พระศาสดามีภิกษุ 500 เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบน
บวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและ
บริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้
นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง 7 วัน ในเว้นที่ 7 ได้ถวาย
เครื่องบริขารทุกอย่าง แลเมื่อจะถวายนั้น ใดจัดทำรองเท้าถวายเป็น
พิเศษ คือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวก
ทั้งสอง ราคาคู่ละ 500 ที่ถวายพระภิกษุ 500 นอกนั้น ราคาคู่ละ
ร้อย. อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้ว ได้ไปนั่ง
อยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอัน
ไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การ ๆ ถวายเครื่องบริขาร
ทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง ท่านจงชื่นชมเถิด ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธ-

เจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึงมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่
ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทำไมจักไม่
เป็นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้น ทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึง
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้ มีนามว่าโมลินี พระเจ้า-
พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ
เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่น ทรัพย์
ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน 6 แห่ง คือประตูเมือง
4 ประตู ที่กลางเมือง และที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ 6 แสนให้
ทานเป็นการใหญ่ แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน วันหนึ่ง
เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจไห้ทานได้ เมื่อทรัพย์
ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว
จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่าน
จงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อม
ไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้าเดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอด
ในเวลาเที่ยง.
ในขณะนั้น ที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
พิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั่นกำลังจะเดินทางเพื่อนำทรัพย์มา จึง

พิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่
หนอ ถ็ทราบว่า จักมีอันตราย จึงคิดว่า มหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้ว
จักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่ง
ด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง
ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะ
ลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์.
สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า
บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขต
นี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้ว
เข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทราย
ขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาดนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำ
ที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวม
ออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวาย
ร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้า
กั้นร่มไปเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์ จึงรับร่ม
และรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขา
คันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น.

สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น
เดินไปสู่ท่าลงเรือ เมื่อสังขพราหมณ์กำลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร
พอถึงวันที่ 7 เรือได้ทะลุ น้ำไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้ำให้หมด
ได้. หาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตน ๆ
ร้องกันเซ็งแซ่. พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คน 1 ทาสรีระ
ด้วยน้ำมัน เคี้ยวจุรณน้ำตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว
ให้อุปัฏฐากกินบ้าง แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กำหนด
ทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้ เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลา
และเต่า จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะ 1 พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น.
มหาชนพากันพินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้าม
มหาสมุทรไปได้ 7 วัน วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วน
ปากด้วยน้ำเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ.
ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง 4 ตั้งไว้ให้
พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคำสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตร-
สรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์
ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้. นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่
ของตนเสีย 7 วัน พอถึงวันที่ 7 นางตรวจดูสมุทร ได้เห็นสังข-
พราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้
ตกทะเลมาได้ 7 วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็น

อันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบ 1 ให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอัน
มีรสเลิศต่าง ๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้า
สังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา 7 วันแล้ว
จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด. สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าว
ว่า จงนำภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลำดับนั้น อุปัฏฐาก
อยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นสุขุมาล-
ชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลำบากเข้า 7 วัน ชรอยจะบ่นเพ้อเพราะ
กลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็น
พหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา เหตุไรท่านจึงแสดง
คำพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอันนอก
จากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตธมฺโมสิ ความว่า แม้ธรรม
ท่านก็ได้สดับมาแล้ว ในสำนักของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้ง-
หลาย. บทว่า ทิฏฺฐา ความว่า ทั้งสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ทั้งหลาย อันท่านผู้ถวายปัจจัยแก่สมณพราหมณ์แล้วนั้น กระทำความ
ขวนขวายอยู่ก็ได้เห็นมาแล้ว ท่านแม้เมื่อกระทำอยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ก็
ยังไม่เห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นเลย. บทว่า อถกฺขเณ ตัดบทเป็น

อถ อกฺขเณ คือในขณะที่มิใช่โอกาสพูด เพราะไม่มีใคร ๆ ที่เจรจา
ด้วย. บทว่า ทสฺสยเส ความว่า ท่านเมื่อกล่าวว่า เรารักษาอุโบสถ
ชื่อว่าแสดงคำพร่ำเพ้อ. บทว่า ปฏิมนฺตโก ความว่า คนอื่นนอกจาก
ข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจา คือที่จะมาให้ถ้อยคำกับท่านได้ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงพร่ำเพ้ออย่างนี้.
สังขพราหมณ์ได้ฟังคำของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชรอยเทวดา
นั้น จะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย
ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่ แล้วกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
นางฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วย
เครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหาร
ทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มี
ศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่
บริโภค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีหน้างาม.
บทว่า สุภา ได้แก่ ผู้มีรูปร่างงามเลิศ น่าเลื่อมใส. บทว่า สุปฺปฏิ-
มุกฺกกมฺพู
คือประดับด้วยเครื่องอลังการทอง. บทว่า ปคฺคยฺห คือ
ถาดภัตตาหารยกขึ้น. บทว่า สทฺธา วิตฺตา ได้แก่ มีศรัทธาด้วย
มีจิตยินดีด้วย. บาลีว่า สทฺธา วิตฺตํ ดังนี้ก็มี. ข้อนั้นมีความว่า บทว่า

สทฺธา ได้แก่ ผู้เหลืออยู่. บทว่า วิตฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตยินดีแล้ว. บทว่า
ตมหํ โน ความว่า เราเมื่อจะปฏิเสธ เพราะความที่ตนเป็นผู้รักษา
อุโบสถ จึงตอบกะเทวดานั้นว่า ไม่บริโภค เราไม่เพ้อดอกสหาย.
ลำดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ 3 แก่สังขพราหมณ์นั้น
ว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยัง
ปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเป็นนี้แล้ว
ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนม
มือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขมาสึสมาโน ความว่า บุรุษ
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ยังปรารถนาความสุขเพื่อตน ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้
แล้ว ควรจะถามดูว่า ความสุขจักมีแก่เราหรือไม่ ? บทว่า อุฏฺเฐหิ
ความว่า ท่านเมื่อแสดงอาการลุกขึ้นจากน้ำ ชื่อว่า จงลุกขึ้น. บทว่า
ปญฺชลิกาภิปุจฺฉ คือจงเป็นผู้ประนมมือถาม. บทว่า อุท มานุสี
ความว่า หรือว่านางเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์มาก.
พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น
ได้กล่าวคาถาที่ 4 ว่า :-

เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสาย-
ตาอันแสดงความรู้ ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภค
อาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้า
ขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า เพราะเหตุใด
ท่านจึงมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก. บทว่า อภิสเมกฺ-
ขเส
คือแลดูด้วยจักษุ อันแสดงความรัก. บทว่า ปุจฺฉามิ ตํ ความว่า
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงขอถามท่าน.
ลำดับนั้น นางเทพธิดา ได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็น
เทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็
เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้าย
หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่
ท่านนั่นเอง.
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มี
ข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง
ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้น
สำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในสมุทรนี้ . บทว่า นานา-
วิวิธานิ
คือมียานพาหนะ คือช้างและยานพาหนะ มีม้าเป็นต้น ทั้ง
มากมาย ทั้งหลายอย่าง. บทว่า สพฺพสฺส ตฺยาหํ ความว่า ข้าพเจ้า
จะให้ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น สำเร็จแก่ท่าน คือจะให้ท่านเป็นเจ้าของ
ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น ทุกอย่าง. บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ใจของ
ท่านอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง. แม้อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นทุกอย่าง
แก่ท่าน.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้
อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้ำ เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เรา
ทำไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน เมื่อจะถาม
ได้กล่าวคาถาที่ 7 ว่า :-
ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย
มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วน
บูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบาก
แห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้า
ได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยิฏฺฐํ คือบูชาแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งทาน. บทว่า หุตํ คือให้แล้ว ด้วยสามารถแห่งของคำนับและของ

ต้อนรับ. บทว่า สพฺพสฺส โน อิสฺสรา ตฺวํ ความว่า ท่านเป็นอิสระ
คือเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งบุญกรรมของข้าพเจ้านั้นทุกอย่างว่า นี้เป็น
วิบากแห่งกรรมนี้ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนี้. บทว่า สุสฺโสณิ คือผู้มี
ลักษณะแห่งโคนขางาม. บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีคิ้วงาม บทว่า
สุวิลากมชฺเฌ คือผู้มีกลางตัวอันอรชรอ้อนแอ่น. บทว่า กิสฺส เม
ความว่า บรรดากรรมที่ข้าพเจ้าทำแล้ว การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในมหา-
สมุทรอันหาที่พึ่งมิได้นี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.
นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชรอยจะถาม
ด้วยสำคัญว่า เรารู้กุศลกรรมที่เขาทำไว้ บัดนี้ เราจักกล่าวทานของเขา
เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ 8 ว่า :-
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวาย
รองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เดินกระโหย่งเท้า
สะดุ้ง ลำบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณา
นั้นอำนวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกภิกฺขุํ นางเทพธิดากล่าว
หมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น. บทว่า อุคฺฆฏฺฏปาทํ คือผู้เดิน
กระโหย่งเท้า เพราะทรายร้อน. บทว่า ตสิตํ คือผู้กระหายแล้ว.
บทว่า ปฏิปาทยิ ความว่า ได้ถวายแล้ว คือได้ประกอบแล้ว. บทว่า
กามทุหา คือให้สิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้า
ที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทร
อันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจก-
พุทธเจ้า เป็นการถวายที่ดีแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ 9 ว่า :-
ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น่า
ไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะใน
สมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้
มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ใน
วันนี้เถิด.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า
ดูก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอท่านจงเนรมิตเรือ
ลำ 1 แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็ก ๆ ลำ 1 ประมาณ
เท่าเรือโกลน อนึ่ง เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่น
กระดานหลาย ๆ แผ่น ที่ตรึงดีแล้ว ที่ชื่อว่า น้ำไม่รั่ว เพราะไม่มีช่อง
ที่จะให้น้ำไหลเข้าไปได้ ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวก
เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี ขอ
ท่านได้ฟังข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลำนั้น ในวันนี้เถิด.
นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี
เนรมิตเรือขึ้นลำ 1 ซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว 7 ประการ เรือลำนั้นยาว

8 อุสภะ กว้าง 4 อุสภะ ลึก 2 วา มีเสากระโดง 3 เสา แล้วไป
ด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยาง แล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้าน
แล้วไป ด้วยเงิน มีหางเสือ แล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ 7 ประการ
มาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้
เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญ
ที่ตนได้การทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดา
ก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนคร
ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน.
พระศาสดา ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า:-
นางเทพธิดานั้น มีจิตชื่นชมโสมนัส
ปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพา
สังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อัน
เป็นที่สำราญรื่นรมย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นางเทพธิดานั้น ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้น ในท่ามกลางสมุทรนั้น
แล้ว ประกอบด้วยปีติ กล่าวคือมีจิตชื่นชม. บทว่า สุมนา เป็นต้น
คือเป็นผู้มีใจงาม เป็นผู้มีจิตร่าเริงแล้วด้วยปราโมทย์ เนรมิตเรืออัน

วิจิตร นำพราหมณ์กับคนใช้ไปแล้ว. บทว่า สาธุรมฺมํ คือนำเข้ามา
ส่งถึงเมืองอันเป็นที่รื่นรมย์ยิ่ง.
แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้
ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัท
ได้ไปเกิดในเทพนคร.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระ-
ทศพลทรงประชุมชาดกว่า นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นนาง-
อุบลวัณณาเถรีในบัดนี้ บุรุษอุปัฏฐากในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์
ในบัดนี้ ส่วนสังขพราหมณ์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสังขพราหมณชาดกที่ 4

5. จุลลโพธิชาดก



ว่าด้วยความโกรธ



[1367] ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าจะมีบุคคลมาพาเอา
นางปริพพาชิกา ผู้มีนัยน์ตากว้างงามน่ารัก มี
ใบหน้าอมยิ้ม ของท่านไปด้วยกำลัง ท่านจะ
ทำอย่างไรเล่า ?
[1368] ถ้าความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว
ยังไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่
ยังไม่หาย อาตมภาพจะห้ามกันเสียโดยพลัน
ทีเดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.
[1369] ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไร
หนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่
เห็น นั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้.
[1370] ความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยัง
ไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็
ยังไม่หาย แต่อาตมภาพได้ห้ามกันแล้วโดย
พลัน เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.